จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559


สรุป VDO การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
โดย  คุณครูกรรณิการ์ เฉิน

คลิ๊ก!!เพื่อรับชมVDO

              สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย  เป็นการนำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ  เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เด็กๆได้ปฏิบัติจริงที่สำคัญครูต้องป้อนคำถามให้เกิดการเรียนรู้ให้ได้และครูก็ต้องมีทักษะในการถาม เด็กจึงเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์  นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้เด็กได้หาเหตุผลจากความคิดของตนเองและยอมรับเหตุผลของผู้อื่น  การที่เด็กได้รู้จักคิดเองหรือใช้ความคิดของตนเองในการทำกิจกรรมจะส่งผลให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่ทำได้มากขึ้นและจดจำได้เป็นอย่างดี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวการ์ตูน เคลื่อนไหว

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559


สรุปบทความวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Teaching Children about Environment Conservation)
ผู้เขียน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

            สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Teaching Children about Environment Conservation) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวของคนเราอย่างฉลาด และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช อากาศ ภูเขา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็น อยู่ของคนเรา เพราะการดำรงชีวิตของคนต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปถึงอนาคต แต่เมื่อคน เราใช้สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ประกอบกับความเป็นอยู่ของคนเรามีเครื่องอำนวยความสะดวก แต่กลับให้โทษต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัญหาที่คนในสังคมได้มาศึกษาหาทางใช้สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างเสริมประโยชน์แก่มนุษย์ตลอดไปเรียกว่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการให้ความรู้ ปลูกฝังทัศนคติที่ดี และเน้นการปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคมโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
            สรุปเกร็ดความรู้             
        การเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กจะเกิดขึ้นได้ผลอย่างยั่งยืน เพราะสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเป็นธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัส ให้เด็กได้เห็นได้กลิ่นได้รู้จักสิ่งที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น อากาศ ลำธาร เป็นต้น และสภาพภายนอกห้องเรียนจะมีระบบนิเวศที่เด็กพบเห็นได้เสมอ เช่น มีบริเวณของไม้พุ่มหลากหลายชนิดที่นกสามารถเข้าไปนอนและทำรังได้ ทำรั้วต้นไม้ที่ให้ร่มเงาให้เด็กเข้าไปนั่งเล่น ให้เห็นว่าต้นไม้เป็นที่อาศัยของสัตว์และพืช และต้นไม้ให้วัสดุที่เด็กนำมาเล่นได้ เช่น ลูกยาง ฝักถั่ว กิ่งไม้ ใบไม้ เป็นต้น
        จัดประสบการณ์ตรงให้แก่เด็ก เช่น การใช้น้ำอย่างประหยัด การดูแลต้นไม้ การกำจัดขยะ การลดขยะ การใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ การรักษาอากาศให้สะอาด การเลือกกินอาหารจากพืชเพื่อให้เห็นคุณค่าของธรรมชาติ เป็นต้น
        วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นสิ่งแวดล้อมที่ควรแก่การอนุรักษ์ เนื่องจากวัฒนธรรมประเพณีเกิดจากสังคมได้ตระ หนักถึงคุณค่าของการใช้ธรรมชาติเป็นปัจจัยของชีวิต




สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  การพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย

ผู้เขียน   ประภาพร เทพไพฑูรย์

คลิ๊กอ่าน!!! งานวิจัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวการ์ตูน เคลื่อนไหว
  • ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับ
ปฐมวัยในประเด็นต่อไปนี้
1. หาคุณภาพแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับ
ปฐมวัย
2. สร้างเกณฑ์ปกติ (norms) และคู่มือการใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย
  • ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
1. ทำให้ได้แบบทดสอบที่มีคุณภาพไปใช้ในการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย เพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับปฐมวัย
และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อไป
2. ผลของการวิจัยครั้งนี้ เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะด้าน
อื่น ๆ ต่อไป
  • ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย ปีที่ 2 ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน
2,939 คน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1. 2547 : 1)
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย ปีที่ 2 ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 375
คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi - stage random sampling)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จำนวน 7 ฉบับ คือ
3.1 แบบทดสอบทักษะการสังเกต
3.2 แบบทดสอบทักษะการวัด
3.3 แบบทดสอบทักษะการจำแนกประเภท
3.4 แบบทดสอบทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ
3.5 แบบทดสอบทักษะการใช้ตัวเลข
3.6 แบบทดสอบทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล
3.7 แบบทดสอบทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
4. คุณภาพของแบบทดสอบ
4.1 ความเที่ยงตรง (validity)
4.1.1 ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity)
4.1.2 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity)
4.2 ความยากง่าย (difficulty)
4.3 อำนาจจำแนก (discrimination)
4.4 ความเชื่อมั่น (reliability)
4.5 เกณฑ์ปกติ (norms)
  • วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ติดต่อโรงเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ขออนุญาตผู้บริหารโรงเรียนเพื่อกำหนดวันและ
เวลาดำเนินการสอบ
2. เตรียมแบบทดสอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่สอบในแต่ละครั้ง และวางแผน
ในการดำเนินการสอบ
3. อธิบายให้ผู้ดำเนินการสอบเข้าใจวัตถุประสงค์และผลที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
เครื่องมือโดยหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้
1. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ใช้วิธีการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและ
นำผลคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : index of item -
objective congrucnec) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2539 : 246)
2. ความยากง่ายรายข้อโดยใช้เทคนิค 27 เปอร์เซ็นต์ คำนวณโดยใช้สูตรอย่างง่าย
(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 115)
3. อำนาจจำแนกรายข้อ โดยใช้เทคนิค 27 เปอร์เซ็นต์ คำนวณโดยใช้สูตรอย่างง่าย
(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 216)
4. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยตรวจสอบสัมประสิทธิ์ความ
สอดคล้องภายในระหว่างคะแนนเป็นรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ (item - total correlation) ด้วย
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson,s product - moment correlation coeffcient)
(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2536 : 168)
5. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (reliability) ใช้วิธีการของคูเดอร์ริชาร์ดสัน
(Kuder Richardson) สูตร KR-20 (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 168)
6. สร้างเกณฑ์ปกติ (norms) ผู้วิจัยได้นำคะแนนของแบบทดสอบแปลงให้เป็นคะแนน
ที่ปกติและปรับขยายโดยวิธีกำลังสองต่ำสุด (เสริม ทัศศรี. 2545 : 116 - 120)
  • เครื่องมือที่พัฒนา
เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ระดับปฐมวัย ประกอบด้วย
1. แบบทดสอบทักษะการสังเกต
2. แบบทดสอบทักษะการวัด
3. แบบทดสอบทักษะการจำแนกประเภท
4. แบบทดสอบทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ


ภาพตัวอย่างแบบทดสอบ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันที่  22  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และบูรณาการสู่STEM
การจัดการเรียนการสอนวันพุธ  "หน่วยส้ม  การถนอมอาหาร"

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม กับ ส้มสด
ขั้นสอน
   2.ครูใช้คำถาม ถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้กินได้นานๆ
   3.ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู



    4.ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรส


ภาพส้มสด

ภาพส้มเชื่อม

    5.ครูถามเด็กว่า เด็กชอบส้มเชื่อมหรือส้มสดมากกว่ากัน ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำสติ๊กเกอร์ไปติดลงบนตารางที่ครูเตรียมไว้
   6.ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่งจากนั้นครูสรุปผลความชอบส้มสดและส้มเชื่อมของเด็กๆพร้อมกับถามเหตุผลที่เด็กชอบและไม่ชอบและเขียนลงบนตาราง


7.ครูสร้างคำถามชวนให้เด็กคิดว่า
-  เราจะนำเมล็ดส้มที่เหลือจากการกินมาเล่นอย่างไรได้บ้าง
-  เรามีวิธีเล่นอย่างไรบ้างที่จะทำให้ส้มเคลื่อนที่ได้
-  เมื่อเด็กตอบมาแล้วอย่างหลากหลายเช่น  เป่า  ดีด นอกจากนี้เราจะใช้เครื่องมืออะไรได้บ้างมาลองคนหากัน


 8.ครูเปิดวีดีโอ  ขวดบ้าพลัง  จากยูทูป(เตรียมการไว้ล่วงหน้า)  ให้เด็กได้ดูวิธีการประดิษฐ์ของเล่นที่จะนำมาใช้ให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่

วีดิโอการประดิษฐ์ของเล่น

    9.ครูทบทวนอุปกรณ์และสาธิตวิธีการทำ ขวดบ้าพลัง  ให้เด็กๆดู




    10.ให้เด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ซึ่งเด็กแต่คนจะได้ขวดที่มีรูปทรงหรือขนาดที่ต่างกัน  และลงมือทำชวดบ้าพลังด้วยตนเอง  


    11.เมื่อทำเสร็จแล้วครูถามเด็กว่าเราจะมีวิธีการเล่นขวดบ้าพลังนี้อย่างไร(เด็กแสดงความคิดของตนเอง)จากนั้นให้ลองเล่น
    12.ครูเฉลยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่ได้

เมื่อเราดึงลูกโป่งจะทำให้พื้นที่ของอากาศมีมากขึ้น  อากาศก็จะเข้าไปอยู่ทั้งในขวดและในลูกโป่งเมื่อเราปล่อยลูกโป่งๆก็จะดันอากาศให้เคลื่อนออกจากขวดอย่างรวดเร็วและดันเมล็ดส้มให้เคลื่อนที่ได้

    13.ครูให้เด็กๆหาประสิทธิภาพโดยการแข่งขันว่าขวดบ้าพลังแบบไหนจะทำให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด



14.ครูปสรุปผลการหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลังแล้วให้เด็กๆร่วมวิเคราะห์ผล



ขั้นสรุป
  15.ครูและเด็กสนทนาทบทวนสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมที่ได้ทำในวันนี้

การประยุกต์ใช้  
  • สามารถนำการเทคนิคการสอนต่างๆไปใช้ประโยชน์ในวิชาอื่นๆหรือใช้สอนกับเด็กๆได้
การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและให้ความร่วมในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดีและมีคำแนะนำให้อยู่เสมอ


วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15 
วันที่  15  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • การเขียนแผนการเรียนการสอนของแต่ละวันใน  1  สัปดาห์ของหน่วยส้ม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ส้ม
วันจันทร์ เรื่อง สายพันธุ์
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
วันพุธ เรื่อง การถนอมอาหาร
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
วันศุกร์ เรื่อง การทำน้ำส้มคั้น (Cooking)

โดยเรื่องที่จะนำมาสาธิตวิธีการสอน  คือ  การสอนของวันพุธ เรื่อง การถนอมส้ม
วัตถุประสงค์
    1.เด็กสามารถบอกวิธีการถนอมอาหารได้
    2.เด็กสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างส้มสดกับส้มที่ผ่านการถนอมอาหารได้

สาระที่ควรเรียนรู้
    1.การถนอมอาหารของส้มมีหลากหลายวิธี เช่น ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง

ประสบการณ์สำคัญ
    1.ด้านร่างกาย
           การต่อของ และการแยกชิ้นส่วน
    2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
           การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
    3.ด้านสังคม
           การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเคารพความคิดเห็นผู้อื่น
    4.ด้านสติปัญญา
           การแสดงออกความรู้ด้วยคำพูด การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม กับ ส้มสด
ขั้นสอน
   2.ครูใช้คำถาม ถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้กินได้นานๆ
   3.ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู
   4.ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรส
   5.ครูถามเด็กว่า เด็กชอบส้มเชื่อมหรือส้มสดมากกว่ากัน ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำสติ๊กเกอร์ไปติดลงบนตารางที่ครูเตรียมไว้
   6.ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
ขั้นสรุป
   7.ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน และถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบ จากนั้นครูเขียนเหตุผลเด็กลงในตารางที่ครูเตรียมไว้

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
   1.เกมการศึกษา
   2.ส้มที่ผ่านการถนอมอาหาร ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้งสามรส
   3.ตาราง
   4.สติ๊กเกอร์

การวัดและประเมินผล
   1.แบบบันทึกการสังเกต ฟังจากการตอบคำถามและอธิบายความแตกต่างของส้มสดและส้มเชื่อม

การบูรณาการ
   1.วิทยาศาสตร์
   2.คณิตศาสตร์
   3.สังคม
   4.ภาษา

การประยุกต์ใช้  

  • สามารถนำวิธีการเขียนแผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กอนุบาลไปไปปรับปรุงใช้ได้
การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเมื่อไม่เข้าใจก็ซักถามอยู่เสมอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจสนใจเนื้อหาการเรียนอย่างมาก
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีเนื้ออย่างละเอียดทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถซักถามได้เสมอพร้อมทั้งอธิบายอย่างเข้าใจ

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14 
วันที่ 8 พฤศจิกายน  2559

เข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  "หน่วยผีเสื้อ"
แก่คณะอาจารย์จากประเทศออสเตรีย













วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13 
วันที่ 2 พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • Present VDO การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
ขวดบ้าพลัง

พลังปริศนา


รถแกนหลอดด้าย

ลูกข่างนักสืบ

  • คำแนะการประดิษฐ์ของเล่น
  1. ควรมี subtitle ประกอบเพื่อให้เด็กได้เห็นคำและรู้จักภาษามากยิ่งขึ้น
  2. ตัวอักษรควรเป็นแบบมาตรฐาน  ไม่ใช่ตัวเขียนเล่น
  3. การแนะนำอุปกรณ์ควรมีตัวหนังสือกำกับ บอกจำนวน  และลักษณนามให้ถูกต้อง
  4. หน่วยการวัดไม่ควรใช้ เมตร/เซนติเมตร  ควรสร้างเครื่องมือขึ้นมา เช่นวาดรูปฝ่ามือลงบนกระดาษเพื่อเป็นหน่วยวัด 1 ฝ่ามือ
  5. ในตอนท้ายควรมีแผนผังกราฟฟิกสรุปวิธีการทำอีกครั้งเพื่อทบทวนแกเด็ก
  6. บอกหน้าที่การทำงานของสมาชิกในกลุ่มด้วย
  7. ในคลิปวีดิโอไม่ต้องมีการเล่นให้ดูให้แค่มีแค่วิธีการประดิษฐ์เพราะการเล่นจะเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้ทำในห้องได้ทดลองเอง
  • การทำ Mind mapping การบูรณาการและการจัดการสอนผ่าน6กิจกรรมหลัก
การบูรณาการ  หน่วย  ส้ม






การจัดการสอนผ่าน6กิจกรรมหลัก

Mind mapping(งานเดี่ยว)

การประยุกต์ใช้  สามารถนำข้อเสนอแนะที่อาจารย์ให้ไปปรับปรุงให้วีดีโอการสอนดีขึ้น

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาและถามเมื่อไม่เข้าใจ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากสนใจการเรียนเป็นอย่างดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมแต่อยากให้มีเอกสารประกอบการเรียนด้วยเพราะเนื้อหามีความยากจนบางครั้งทำให้สับสน/ข้อความคลาดเคลื่อน

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 25 ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • การทำ Mind mapping
  1. การแตกแผนผังความคิดคือ เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับสอนเด็กๆ
  2. ต้องแบ่งหัวข้อ/เนื้อหาให้มีความสมดุล
  3. เรียงลำดับหัวข้อจากขวาไปซ้าย(ตามเข็มนาฬิกา)
  4. ควรตกแต่ง/ใส่รูป**เพราะเด็กจะได้เทียบเคียงในการอ่าน**
  5. ตัวหนังสือชัดเจนอ่านง่ายไม่เอียงไปมา
  • นำเสนอ Mind mapping ที่แก้ไขแล้วและรับคำแนะนำเพิ่มเติม
หน่วยไก่

หน่วยข้าว

หน่วยน้ำ

หน่วยกล้วย

หน่วยนม

หน่วยส้ม(แก้ไขแล้ว)

หน่วยส้ม(ดั้งเดิม)


  • การวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยต่างๆกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
หน่วยไก่ เรียนรู้ส่วนประกอบไก่ (ตา หาง) แล้วบอกหน้าที่ของส่วนประกอบ 
  • สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
หน่วยน้ำ เรียนรู้ประโยชน์ ความสัมพันธ์และความสำคัญ
  • สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สามารถสอนได้ทุกหน่วย  โดยวิธีการทดลอง การทำCooking
  • สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
หน่วยน้ำ  หน่วยนม  หน่วยส้ม เช่นให้เด็กๆนำผลส้มใส่ตระกร้า แล้วทำให้เคลื่นที่ด้วยวิธีต่างๆ
  • สาระที่ 5 พลังงาน
หน่วยข้าว
  • สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
หน่วยฤดูการ/ปรากฏการธรรมชาติ
  • สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
หน่วยดวงจันทร์/ดวงอาทิตย์
  • สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยที่มีการทดลอง

การประยุกต์ใช้  สามรถนำเอาเนื้อหาต่างๆมาแตกหัวข้อย่อยๆสร้างเป็นเนื้อหาสำหรับสอนและสามารถนำเนื้อหามาสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ได้
การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายถามตอบอยู่เสมอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากจดความรู้อยู่ตลอด
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมงานเตรียมตัวมาอย่างดี

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 18 ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • นำเสนอของเล่น(งานกลุ่ม) ที่สามรถนำไปจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้
  1. ไข่มหัศจรรย์(กลุ่มตนเอง)
  2. แม่เหล็กเต้นระบำ
  3. วงจรของโลก
  4. ทวินเพลน
  5. ระบบสุริยะจักวาร
  6. ผีเสื้อเริงระบำ
  7. จานหรรษา
  8. นาฬิกาธรรมชาติ
  9. ภาพใต้น้ำ
การประดิษฐ์ไข่มหัศจรรย์
วัสดุอุปกรณ์
  1. ไข่ปลอม  12 ฟอง
  2. สิ่งของที่ใส่ให้เกิดเสียง น้ำ  ทราย  หิน  เม็ดแมงลัก  ข้าวสาร  กิ่งไม้ฃ
  3. ปืนกาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กระดาษสำหรับตกแต่งและสี
ขั้นตอนการทำ

      1.ใช้คัดเตอร์เจาะไข่ปลอมให้เป็นรูทั้ง 12 ฟองขนาดพอที่จะใส่วัสดุได้




      2.นำวัสดุใส่ลงในไข่ปลอมอย่างละ 2 ฟองแล้วใช้ปืนกาวปิดรูให้แน่น


      3.นำกระดาษฉีกแปะและระบายสีแต่ละฟองให้แตกต่างกัน


      4.ทำแบบเฉลย โดยจับคู่ไข่ที่วัสดุเหมือนกัน  และเฉยสิ่งของที่อยู่ข้างใน





      5.เสร็จแล้วสามารถนำไข่มหัศจรรย์มาเล่นได้

วิธีการเล่น
      ให้เด็กๆเขย่าไข่แต่ละฟองและจับคู่ฟองที่เสียงที่เหมือนกัน  เมื่อได้ครบแล้วสามรถนำแบบเฉลยมาตรวจและดูว่าสิ่งของภายในคืออะไร

หลักการทางวิทยาศาสตร์
      เสียงเป็นคลื่นกลที่เดิกจากสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อเราเขย่าไข่วัสดุข้างในจะมีการสั่นสะเทือนทำให้เกิดการขยายตัวของคลื่นเสียงและเดินผ่านตัวกลาง(อากาศ)มายังอวัยวะรับเสียง(หู)ทำให้เราได้ยิน
  • การทำ mindmaping เนื้อหาที่จะนำไปจัดประสบการณ์แก่เด็ก 
การเขียน Mindmapping จะต้องมี 5 หัวข้อหลัก คือ 
  1. ประเภท/ชนิด/สายพันธ์ 
  2. ลักษณะ
  3. การแปรรูป/การถนอมอาหาร/การเจริญเติบโต 
  4. ประโยชน์ 
  5. ต่อตนเอง
  6. เชิงพานิชณ์
  7. ข้อควรระวัง
วิธีการทำ
  • เลือกเรื่อง
ควรเป็นเรื่องเรื่องใกล้ตัว/มีผลกระทบต่อเด็ก/อยู่ในชีวิตประจำวัน/เด็กสนใจ
  • วางแผน mindmaping
  1. หาข้อมูลของเนื้อหาที่จะทำ
  2. วางแผนรูปแบบให้สมดุล
  3. ลงมือเขียน







การประยุกต์ใช้  
      สามารถนำความรู้ไปใช้ได้กับทุกวิชาและใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น  ฝึกคิดอย่างเป็นระบบละเอียดและรอบครอบ

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาพูดคุยปรึกษาเพื่อนเสมอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจงานเสร็จทันเวลา
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อม  อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 11 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • แผนผังกราฟิก
     เป็นการเขียนเพื่อให้เนื้อหามีความเขียนกระชับ และเข้าใจง่าย 
ผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ เป็นตัว T = Technology (STEM) 
ข้อมูลที่อยู่ในผังเป็นลำดับขั้นนั้นคือการวางแผน เป็นตัว E = Engineer (STEM) 
การเขียนเป็นลำดับ เป็นตัว M = Mathematics (STEM)


  • การทำสื่อ 
โดยให้นศ.แบ่งกลุ่ม 8 คนแล้วเลือกของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เคยนำเสนอมา 1 ชิ้นเพื่อทำเป็นสื่อการสอน

"ขวดบ้าพลัง" 
อุปกรณ์ 
  1. ขวดน้ำ 1 ขวด 
  2. ลูกโป่ง 1 ลูก 
  3. หนังยาง 3 เส้น 
  4. กรรไกร 1 อัน 

วิธีทำ"ขวดบ้าพลัง" 
  1. ใช้กรรไกรตัดก้นขวดออก 
  2. ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมขวดที่ตัดไว้
  3. ใช้หนังยางรัดลูกโป่งกับขวดให้แน่น
  4. เสร็จแล้วก็จะได้ของเล่นขวดบ้าพลัง
 
กระบวนการสอน 
     1.เตรียมไว้โต๊ะอุปกรณ์แล้วถามว่าเด็กๆ เห็นอะไรบ้าง
     2.แนะนำอุปกรณ์โดยถามเด็กๆก่อนว่า อุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด) ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนเด็กไม่รู้จักครู้ต้องบอกชื่ออุปกรณ์พร้อมทั้งหยิบให้ดู
     3.เชื่อมโยงความรู้ให้เด็กๆเรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งจากขวดออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และมีอากาศเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อยอากาศที่เข้าไปแทนที่ก็จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ 
     4.เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว/ชีวิตประจำวันว่าเด็กๆจะทำอะไรได้บ้างให้วัตถุเคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(เช่น เป่า)
     5.เมื่อเด็กตอบคำถามในข้อ 4 เสร็จแล้วครูเด็กๆชวนประดิษฐ์ของเล่นที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(ขวดบ้าพลัง) 
     6.ชวนเด็กลองsearch วิธีการทำขวดบ้าพลัง จากอินเทอร์เน็ต 
     7.ดู VDO จากสื่อที่เราทำเตรียมไว้แล้ว post on youtube 
     8.ครูสาธิตขั้นตอนการทำ
     9.แจกอุปกรณ์แก่เด็กๆแล้วให้เด็กลองประดิษฐ์
     10.เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้วให้เด็กนำของเล่นมาทดลองโดยเล่น/การแข่งขันกัน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดสังเกตลักษณะต่างๆของของเล่นและมีการเก็บข้อมูล
     11.เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้เด็กเปรียบเทียบประสิทธภาพของของเล่น เช่น ความแรง ความไกลของสิ่งของ โดยการทำเป็นตารางกราฟ 
     12.สรุปผล โดยถามเด็กๆว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆได้

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังคำสั่งจากครูแต่ก็ยังงงอยู่มาก  มีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานทำให้ต้องใช้เวลาปรับเข้าหากัน
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและสนใจดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนอธิบายเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจง่ายแต่ขั้นตอนในการให้ปฏิบัติงานกลุ่มมีความงงอยู่บ้าง