จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันที่  22  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และบูรณาการสู่STEM
การจัดการเรียนการสอนวันพุธ  "หน่วยส้ม  การถนอมอาหาร"

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม กับ ส้มสด
ขั้นสอน
   2.ครูใช้คำถาม ถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้กินได้นานๆ
   3.ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู



    4.ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรส


ภาพส้มสด

ภาพส้มเชื่อม

    5.ครูถามเด็กว่า เด็กชอบส้มเชื่อมหรือส้มสดมากกว่ากัน ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำสติ๊กเกอร์ไปติดลงบนตารางที่ครูเตรียมไว้
   6.ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่งจากนั้นครูสรุปผลความชอบส้มสดและส้มเชื่อมของเด็กๆพร้อมกับถามเหตุผลที่เด็กชอบและไม่ชอบและเขียนลงบนตาราง


7.ครูสร้างคำถามชวนให้เด็กคิดว่า
-  เราจะนำเมล็ดส้มที่เหลือจากการกินมาเล่นอย่างไรได้บ้าง
-  เรามีวิธีเล่นอย่างไรบ้างที่จะทำให้ส้มเคลื่อนที่ได้
-  เมื่อเด็กตอบมาแล้วอย่างหลากหลายเช่น  เป่า  ดีด นอกจากนี้เราจะใช้เครื่องมืออะไรได้บ้างมาลองคนหากัน


 8.ครูเปิดวีดีโอ  ขวดบ้าพลัง  จากยูทูป(เตรียมการไว้ล่วงหน้า)  ให้เด็กได้ดูวิธีการประดิษฐ์ของเล่นที่จะนำมาใช้ให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่

วีดิโอการประดิษฐ์ของเล่น

    9.ครูทบทวนอุปกรณ์และสาธิตวิธีการทำ ขวดบ้าพลัง  ให้เด็กๆดู




    10.ให้เด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ซึ่งเด็กแต่คนจะได้ขวดที่มีรูปทรงหรือขนาดที่ต่างกัน  และลงมือทำชวดบ้าพลังด้วยตนเอง  


    11.เมื่อทำเสร็จแล้วครูถามเด็กว่าเราจะมีวิธีการเล่นขวดบ้าพลังนี้อย่างไร(เด็กแสดงความคิดของตนเอง)จากนั้นให้ลองเล่น
    12.ครูเฉลยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่ได้

เมื่อเราดึงลูกโป่งจะทำให้พื้นที่ของอากาศมีมากขึ้น  อากาศก็จะเข้าไปอยู่ทั้งในขวดและในลูกโป่งเมื่อเราปล่อยลูกโป่งๆก็จะดันอากาศให้เคลื่อนออกจากขวดอย่างรวดเร็วและดันเมล็ดส้มให้เคลื่อนที่ได้

    13.ครูให้เด็กๆหาประสิทธิภาพโดยการแข่งขันว่าขวดบ้าพลังแบบไหนจะทำให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด



14.ครูปสรุปผลการหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลังแล้วให้เด็กๆร่วมวิเคราะห์ผล



ขั้นสรุป
  15.ครูและเด็กสนทนาทบทวนสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมที่ได้ทำในวันนี้

การประยุกต์ใช้  
  • สามารถนำการเทคนิคการสอนต่างๆไปใช้ประโยชน์ในวิชาอื่นๆหรือใช้สอนกับเด็กๆได้
การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและให้ความร่วมในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดีและมีคำแนะนำให้อยู่เสมอ


วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15 
วันที่  15  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • การเขียนแผนการเรียนการสอนของแต่ละวันใน  1  สัปดาห์ของหน่วยส้ม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ส้ม
วันจันทร์ เรื่อง สายพันธุ์
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
วันพุธ เรื่อง การถนอมอาหาร
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
วันศุกร์ เรื่อง การทำน้ำส้มคั้น (Cooking)

โดยเรื่องที่จะนำมาสาธิตวิธีการสอน  คือ  การสอนของวันพุธ เรื่อง การถนอมส้ม
วัตถุประสงค์
    1.เด็กสามารถบอกวิธีการถนอมอาหารได้
    2.เด็กสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างส้มสดกับส้มที่ผ่านการถนอมอาหารได้

สาระที่ควรเรียนรู้
    1.การถนอมอาหารของส้มมีหลากหลายวิธี เช่น ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง

ประสบการณ์สำคัญ
    1.ด้านร่างกาย
           การต่อของ และการแยกชิ้นส่วน
    2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
           การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
    3.ด้านสังคม
           การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเคารพความคิดเห็นผู้อื่น
    4.ด้านสติปัญญา
           การแสดงออกความรู้ด้วยคำพูด การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม กับ ส้มสด
ขั้นสอน
   2.ครูใช้คำถาม ถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้กินได้นานๆ
   3.ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู
   4.ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรส
   5.ครูถามเด็กว่า เด็กชอบส้มเชื่อมหรือส้มสดมากกว่ากัน ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำสติ๊กเกอร์ไปติดลงบนตารางที่ครูเตรียมไว้
   6.ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
ขั้นสรุป
   7.ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน และถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบ จากนั้นครูเขียนเหตุผลเด็กลงในตารางที่ครูเตรียมไว้

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
   1.เกมการศึกษา
   2.ส้มที่ผ่านการถนอมอาหาร ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้งสามรส
   3.ตาราง
   4.สติ๊กเกอร์

การวัดและประเมินผล
   1.แบบบันทึกการสังเกต ฟังจากการตอบคำถามและอธิบายความแตกต่างของส้มสดและส้มเชื่อม

การบูรณาการ
   1.วิทยาศาสตร์
   2.คณิตศาสตร์
   3.สังคม
   4.ภาษา

การประยุกต์ใช้  

  • สามารถนำวิธีการเขียนแผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กอนุบาลไปไปปรับปรุงใช้ได้
การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเมื่อไม่เข้าใจก็ซักถามอยู่เสมอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจสนใจเนื้อหาการเรียนอย่างมาก
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีเนื้ออย่างละเอียดทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถซักถามได้เสมอพร้อมทั้งอธิบายอย่างเข้าใจ

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14 
วันที่ 8 พฤศจิกายน  2559

เข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  "หน่วยผีเสื้อ"
แก่คณะอาจารย์จากประเทศออสเตรีย













วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13 
วันที่ 2 พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • Present VDO การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
ขวดบ้าพลัง

พลังปริศนา


รถแกนหลอดด้าย

ลูกข่างนักสืบ

  • คำแนะการประดิษฐ์ของเล่น
  1. ควรมี subtitle ประกอบเพื่อให้เด็กได้เห็นคำและรู้จักภาษามากยิ่งขึ้น
  2. ตัวอักษรควรเป็นแบบมาตรฐาน  ไม่ใช่ตัวเขียนเล่น
  3. การแนะนำอุปกรณ์ควรมีตัวหนังสือกำกับ บอกจำนวน  และลักษณนามให้ถูกต้อง
  4. หน่วยการวัดไม่ควรใช้ เมตร/เซนติเมตร  ควรสร้างเครื่องมือขึ้นมา เช่นวาดรูปฝ่ามือลงบนกระดาษเพื่อเป็นหน่วยวัด 1 ฝ่ามือ
  5. ในตอนท้ายควรมีแผนผังกราฟฟิกสรุปวิธีการทำอีกครั้งเพื่อทบทวนแกเด็ก
  6. บอกหน้าที่การทำงานของสมาชิกในกลุ่มด้วย
  7. ในคลิปวีดิโอไม่ต้องมีการเล่นให้ดูให้แค่มีแค่วิธีการประดิษฐ์เพราะการเล่นจะเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้ทำในห้องได้ทดลองเอง
  • การทำ Mind mapping การบูรณาการและการจัดการสอนผ่าน6กิจกรรมหลัก
การบูรณาการ  หน่วย  ส้ม






การจัดการสอนผ่าน6กิจกรรมหลัก

Mind mapping(งานเดี่ยว)

การประยุกต์ใช้  สามารถนำข้อเสนอแนะที่อาจารย์ให้ไปปรับปรุงให้วีดีโอการสอนดีขึ้น

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาและถามเมื่อไม่เข้าใจ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากสนใจการเรียนเป็นอย่างดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมแต่อยากให้มีเอกสารประกอบการเรียนด้วยเพราะเนื้อหามีความยากจนบางครั้งทำให้สับสน/ข้อความคลาดเคลื่อน