จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 25 ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • การทำ Mind mapping
  1. การแตกแผนผังความคิดคือ เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับสอนเด็กๆ
  2. ต้องแบ่งหัวข้อ/เนื้อหาให้มีความสมดุล
  3. เรียงลำดับหัวข้อจากขวาไปซ้าย(ตามเข็มนาฬิกา)
  4. ควรตกแต่ง/ใส่รูป**เพราะเด็กจะได้เทียบเคียงในการอ่าน**
  5. ตัวหนังสือชัดเจนอ่านง่ายไม่เอียงไปมา
  • นำเสนอ Mind mapping ที่แก้ไขแล้วและรับคำแนะนำเพิ่มเติม
หน่วยไก่

หน่วยข้าว

หน่วยน้ำ

หน่วยกล้วย

หน่วยนม

หน่วยส้ม(แก้ไขแล้ว)

หน่วยส้ม(ดั้งเดิม)


  • การวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยต่างๆกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
หน่วยไก่ เรียนรู้ส่วนประกอบไก่ (ตา หาง) แล้วบอกหน้าที่ของส่วนประกอบ 
  • สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
หน่วยน้ำ เรียนรู้ประโยชน์ ความสัมพันธ์และความสำคัญ
  • สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สามารถสอนได้ทุกหน่วย  โดยวิธีการทดลอง การทำCooking
  • สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
หน่วยน้ำ  หน่วยนม  หน่วยส้ม เช่นให้เด็กๆนำผลส้มใส่ตระกร้า แล้วทำให้เคลื่นที่ด้วยวิธีต่างๆ
  • สาระที่ 5 พลังงาน
หน่วยข้าว
  • สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
หน่วยฤดูการ/ปรากฏการธรรมชาติ
  • สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
หน่วยดวงจันทร์/ดวงอาทิตย์
  • สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยที่มีการทดลอง

การประยุกต์ใช้  สามรถนำเอาเนื้อหาต่างๆมาแตกหัวข้อย่อยๆสร้างเป็นเนื้อหาสำหรับสอนและสามารถนำเนื้อหามาสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ได้
การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายถามตอบอยู่เสมอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากจดความรู้อยู่ตลอด
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมงานเตรียมตัวมาอย่างดี

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 18 ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • นำเสนอของเล่น(งานกลุ่ม) ที่สามรถนำไปจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้
  1. ไข่มหัศจรรย์(กลุ่มตนเอง)
  2. แม่เหล็กเต้นระบำ
  3. วงจรของโลก
  4. ทวินเพลน
  5. ระบบสุริยะจักวาร
  6. ผีเสื้อเริงระบำ
  7. จานหรรษา
  8. นาฬิกาธรรมชาติ
  9. ภาพใต้น้ำ
การประดิษฐ์ไข่มหัศจรรย์
วัสดุอุปกรณ์
  1. ไข่ปลอม  12 ฟอง
  2. สิ่งของที่ใส่ให้เกิดเสียง น้ำ  ทราย  หิน  เม็ดแมงลัก  ข้าวสาร  กิ่งไม้ฃ
  3. ปืนกาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กระดาษสำหรับตกแต่งและสี
ขั้นตอนการทำ

      1.ใช้คัดเตอร์เจาะไข่ปลอมให้เป็นรูทั้ง 12 ฟองขนาดพอที่จะใส่วัสดุได้




      2.นำวัสดุใส่ลงในไข่ปลอมอย่างละ 2 ฟองแล้วใช้ปืนกาวปิดรูให้แน่น


      3.นำกระดาษฉีกแปะและระบายสีแต่ละฟองให้แตกต่างกัน


      4.ทำแบบเฉลย โดยจับคู่ไข่ที่วัสดุเหมือนกัน  และเฉยสิ่งของที่อยู่ข้างใน





      5.เสร็จแล้วสามารถนำไข่มหัศจรรย์มาเล่นได้

วิธีการเล่น
      ให้เด็กๆเขย่าไข่แต่ละฟองและจับคู่ฟองที่เสียงที่เหมือนกัน  เมื่อได้ครบแล้วสามรถนำแบบเฉลยมาตรวจและดูว่าสิ่งของภายในคืออะไร

หลักการทางวิทยาศาสตร์
      เสียงเป็นคลื่นกลที่เดิกจากสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อเราเขย่าไข่วัสดุข้างในจะมีการสั่นสะเทือนทำให้เกิดการขยายตัวของคลื่นเสียงและเดินผ่านตัวกลาง(อากาศ)มายังอวัยวะรับเสียง(หู)ทำให้เราได้ยิน
  • การทำ mindmaping เนื้อหาที่จะนำไปจัดประสบการณ์แก่เด็ก 
การเขียน Mindmapping จะต้องมี 5 หัวข้อหลัก คือ 
  1. ประเภท/ชนิด/สายพันธ์ 
  2. ลักษณะ
  3. การแปรรูป/การถนอมอาหาร/การเจริญเติบโต 
  4. ประโยชน์ 
  5. ต่อตนเอง
  6. เชิงพานิชณ์
  7. ข้อควรระวัง
วิธีการทำ
  • เลือกเรื่อง
ควรเป็นเรื่องเรื่องใกล้ตัว/มีผลกระทบต่อเด็ก/อยู่ในชีวิตประจำวัน/เด็กสนใจ
  • วางแผน mindmaping
  1. หาข้อมูลของเนื้อหาที่จะทำ
  2. วางแผนรูปแบบให้สมดุล
  3. ลงมือเขียน







การประยุกต์ใช้  
      สามารถนำความรู้ไปใช้ได้กับทุกวิชาและใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น  ฝึกคิดอย่างเป็นระบบละเอียดและรอบครอบ

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาพูดคุยปรึกษาเพื่อนเสมอ
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจงานเสร็จทันเวลา
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อม  อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 11 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • แผนผังกราฟิก
     เป็นการเขียนเพื่อให้เนื้อหามีความเขียนกระชับ และเข้าใจง่าย 
ผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ เป็นตัว T = Technology (STEM) 
ข้อมูลที่อยู่ในผังเป็นลำดับขั้นนั้นคือการวางแผน เป็นตัว E = Engineer (STEM) 
การเขียนเป็นลำดับ เป็นตัว M = Mathematics (STEM)


  • การทำสื่อ 
โดยให้นศ.แบ่งกลุ่ม 8 คนแล้วเลือกของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เคยนำเสนอมา 1 ชิ้นเพื่อทำเป็นสื่อการสอน

"ขวดบ้าพลัง" 
อุปกรณ์ 
  1. ขวดน้ำ 1 ขวด 
  2. ลูกโป่ง 1 ลูก 
  3. หนังยาง 3 เส้น 
  4. กรรไกร 1 อัน 

วิธีทำ"ขวดบ้าพลัง" 
  1. ใช้กรรไกรตัดก้นขวดออก 
  2. ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมขวดที่ตัดไว้
  3. ใช้หนังยางรัดลูกโป่งกับขวดให้แน่น
  4. เสร็จแล้วก็จะได้ของเล่นขวดบ้าพลัง
 
กระบวนการสอน 
     1.เตรียมไว้โต๊ะอุปกรณ์แล้วถามว่าเด็กๆ เห็นอะไรบ้าง
     2.แนะนำอุปกรณ์โดยถามเด็กๆก่อนว่า อุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด) ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนเด็กไม่รู้จักครู้ต้องบอกชื่ออุปกรณ์พร้อมทั้งหยิบให้ดู
     3.เชื่อมโยงความรู้ให้เด็กๆเรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งจากขวดออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และมีอากาศเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อยอากาศที่เข้าไปแทนที่ก็จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ 
     4.เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว/ชีวิตประจำวันว่าเด็กๆจะทำอะไรได้บ้างให้วัตถุเคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(เช่น เป่า)
     5.เมื่อเด็กตอบคำถามในข้อ 4 เสร็จแล้วครูเด็กๆชวนประดิษฐ์ของเล่นที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(ขวดบ้าพลัง) 
     6.ชวนเด็กลองsearch วิธีการทำขวดบ้าพลัง จากอินเทอร์เน็ต 
     7.ดู VDO จากสื่อที่เราทำเตรียมไว้แล้ว post on youtube 
     8.ครูสาธิตขั้นตอนการทำ
     9.แจกอุปกรณ์แก่เด็กๆแล้วให้เด็กลองประดิษฐ์
     10.เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้วให้เด็กนำของเล่นมาทดลองโดยเล่น/การแข่งขันกัน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดสังเกตลักษณะต่างๆของของเล่นและมีการเก็บข้อมูล
     11.เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้เด็กเปรียบเทียบประสิทธภาพของของเล่น เช่น ความแรง ความไกลของสิ่งของ โดยการทำเป็นตารางกราฟ 
     12.สรุปผล โดยถามเด็กๆว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆได้

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังคำสั่งจากครูแต่ก็ยังงงอยู่มาก  มีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานทำให้ต้องใช้เวลาปรับเข้าหากัน
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและสนใจดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนอธิบายเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจง่ายแต่ขั้นตอนในการให้ปฏิบัติงานกลุ่มมีความงงอยู่บ้าง