จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 28 กันยายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การทำ Cooking  "ทาโกยากิไข่ข้าว" นำสอนโดยพี่นศ.ปี5
โดยแบ่งเด็กออกเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์
ฐานที่ 2 เตรียมอุุปกรณ์
ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส
ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ
  • การที่ต้องแบ่งเด็กออกเป็น 4 ฐานเพราะว่าเด็กจะได้ทำกิจกรรมครบทุกขั้นตอนและเด็กจะได้มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง
การดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ 

ร้องเพลงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียนโดย

  • ครูจะเป็นผู้อ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ 
  • ให้เด็กๆร้องตามครูทีละท่อน 
  • ครูและเด็กจะร้องพร้อมกัน
  • เมื่อร้องเพลงเสร็จแล้วถามเด็กๆเกี่ยวกับเนื้อเพลง เช่น ในเพลงมีอาหารอะไรบ้างที่มรประโยชน์
  • ถามนอกจากเนื้อเพลง เช่น นอกจากอาหารในเนื้อเพลงแล้ว ยังมีอาหารอะไรอีกบ้างที่มีประโยชน์

เนื้อเพลง อาหารดีมีประโยชน์
อาหารดีและมีประโยชน์                       คือผักสด เนื้อหมู ปู ปลา
เป็ด ไก่ ไข่ นม ผลไม้ นานา                           ล้วนมีคุณค่าต่อร่างกายของเรา

ขั้นสอน
  • ให้เด็ก ๆ สังเกตอุปกรณ์ที่วางบนโต๊ะแล้วถามให้เด็กๆวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน 
  • เมื่อเด็กตอบแล้ว ครูจึงเฉลยว่าเป็นกิจกรรมอะไร  
  • ครูแนะนำอุปกรณ์ทีละอย่างพร้อมถามเด็กๆว่าคืออะไร
  • ถ้าวัสดุอุปกรณ์ชิ้นไหนเด็กไม่รู้จัก ให้ครูพูดชื่อสิ่งนั้น แล้วให้เด็กพูดตามครู
  • ครูสาธิตขั้นตอนการทำให้เด็กดูแล้วปล่อยเข้าฐาน


ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์


  • ให้เด็กวาดรูปวัสดุอุปกรณ์


ฐานที่ 2 เตรียมอุุปกรณ์

  • ให้เด็กได้ลงมือหั่นวัสดุเองโดยที่ครูจะคอยพูดคุยและบอกให้เด็กระมัดระวัง


ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส



  • ให้เด็กๆได้ลงมือพร้อมทั้งช่วยกันนับปริมาณของเครื่องปรุง


ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ



  • ครูต้องคอยแนะนำการใช้อุปกรณ์เพราะอาจเกิดอันตรายจากความร้อนได้  ทั้งนี้ยังสามารถแทรกซึมข้อความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย  เช่น เรื่องความร้อนสังเกตได้จากการที่เนยละลายการมองเห็นไอร้อนจากเตา
ขั้นสรุป
  • ครูทบทวนกิจกรรม
  • สอบถามพูดคุยความเห็น
การประยุกต์ใช้  สามารถนำไปใช้ในการสอนเรื่องอื่นๆสามารถนำเทคข้อเกตต่างไปปรับปรุงกับการสอนเด็กหัวข้อวิชาอื่นได้

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  มีความตั้งใจ  สนุกสนาน  ได้ความรู้หลากหลาย
  • การประเมินเพื่อน  มีความสนุกสนาน 
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมและเนื้อหาการสอนน่าสนใจ

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8 
วันที่  28  กันยายน 2559

สอบกลางภาค

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 20 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • คัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมครั้งที่ 3
  • การทำภาพ3มิติ



  • โดยนำมือทาบบนกระดาษแล้ววาดตามรอย  จากนั้นขีดเส้นผ่านมือโดยเมื่อถึงมือให้ทำเป็นเส้นโค้งดังภาพ  ทำต่อกันหลายสีเมื่อเสร็จแล้วเราจะเห็นว่ามือนั้นดูนูนขึ้นกลายเป็นภาพ 3 มิติ
  • ส่งการบ้านของเล่นภาพติดตา













  • นำเสนอของเล่นและจัดหมวดหมู่พร้อมทั้งวิจารณ์เสนอข้อแก้ไขเมื่อจัดแล้วหมวดหมู่ดังนี้

1.เรื่องแรงหนีจากศูนย์กลาง
2.เรื่องแรงพยุง
3.เรื่องแรงดันอากาศ
4.เรื่องการเกิดเสียง
5. เรื่องพลังงานศักย์-พลังงานจล
6. เรื่องคานดีด
  • ทำการทดลองเกี่ยวกับน้ำ



  • สมบัติของน้ำ  คือ  น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ
  • การทดลองพับกระดาษแล้วนำไปลอยน้ำ





  • การทดลองนี้ดอกไม่ที่พับไว้เมื่อนำไปลอยน้ำดอกไม้จะค่อยๆบานออกเป็นเพราะว่าน้ำได้ซึมเข้ากระดาษแล้วกระจายตัวทั่วดอกไม้จึงแผ่กระจายออก 
การประยุกต์ใช้  สามารถนำเอาการทดลองไปประยุกย์ไปดัดไปแปลงเป็นกิจกรรมอื่นๆให้เด็กได้ทำได้  เช่น  วาดรูป 3 มิติต่าง  และสามารถนำมาสอนเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประวันได้ เช่นการทดลองดอกไม้บานสิ่งที่อยู่ในชิตประจำวันก็คือ  การซึมซับน้ำของกระดาษชำระ

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและสนใจในรายละเอียดของกิจกรรม  มีการเตรียมตัวนำเสนอของเล่นมาอย่างดี
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและสนใจ
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีกรรมให้ทำหลากหลายสนุกสนานและน่าสนใจ  ทำให้ได้สงสัยและสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นและได้รับคำตอบจากการทดลองโดยที่ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสดวกและให้ความรู้เพิ่มเติมทีหลัง

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 13 กันยายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • คัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมก่อนเริ่มเรียนเพื่อเป็นการฝึกให้ลายมือสวยและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว
  • หลักการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

ของเล่นต้องมีความหลากหลาย  น่าสนใจ  สามารถยืดหยุ่นได้เล่นได้หลายรูปแบบเป็นของเล่นที่ฝึกให้เด็กได้รู้จักสังเกตอย่างสนุกและสามารถนำมาบูรณาการได้หลายวิชาเช่น  การบูรณาการแบบ STEM

  • สะเต็มศึกษา (STEM Education) 
คือ แนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ Sความรู้ทางวิทยาศาสตร์  Tความรู้ทางด้านเทคโนโลยี Eความรู้ทางด้านวิศวกรรม และMความรู้ด้านคณิตศาสตร์  รวมเข้าด้วยกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ stem


  • ดูวิดีโอเรื่องความลับของแสง


  • ความรู้ที่ได้จากวีดีโอคือ  

1.แสงเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้น 
2.สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว300000กิโลเมตร/ชั่วโมง
3.แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
4.การหักเหของแสงเกิดจากการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุ(ตัวกลาง)คนละชนิดกันและเกิดการหักเหตามมุมของตัวกลางนั้นๆ
5.วัตถุ(ตัวกลาง)มี3ชนิดคือ
-  วัตถุโปร่งแสง
-  วัตถุโปร่งใส
-  วัตถุทึบแสง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1.วัตถุโปร่งแสง2.วัตถุโปร่งใส3.วัตถุทึบแสง

  • สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวแสง









การประยุกต์ใช้  สามารถนำความรู้ที่ไปใช้ในการสร้างสื่อประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียนจดและจดเนื้อหา
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและสนใจเป็นอย่างดี
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมสื่อมาอย่างหลากหลาย

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 6 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • ดูวีดีโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์




  • นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษจากสิ่งเหลือใช้

รายละเอียดของเล่น
1.ชื่อของเล่น  ลูกข่างเปลี่ยนสี
2.อุปกรณ์
-กรรไกร
-วงเวียน
- กระดาษลังตัดเป็นวงกลม 

-สี
- ตะเกียบ
3.ขั้นตอนการทำ
-ตัดกระดาษลังเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง  2.5 นิ้วหรือตามขนาดที่ต้องการ
-แบ่งวงกลมออกเป็น2ส่วนพร้อมระบายสี  น้ำเงิน  และสีแดง  (หรือสีอื่นๆตามต้องการ)
-เจาะรูตรงกลางของวงกลม1รู
-หักไม้ตะเกียบยาวประมาน  3 นิ้วหรือตามขนาดที่ต้องการ
-นำตะเกียบเสียบลงรูของกระดาษที่เจาะไว้
-เสร็จสามารถนำลูกข่างเปลี่ยนสีมาหมุนเล่นได้ 

ภาพลูกข่างเมื่อเสร็จสมบูรณ์   

           
 ภาพลูกข่างขณะหมุน
4.วิธีการเล่น
-หมุนลูกข่างลงบนพื้น  จากนั้นสังเกตสีของลูกข่างว่าเป็นสีอะไร

-เด็กๆสามารถนำลูกข่างมาหมุนแข่งกันว่าใครหมุนได้นานที่สุด  
  • ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

      ลูกข่างจะหมุนรอบตัวได้ด้วยแรงหนีศูนย์กลางซึ่งเกิดจากการที่เราหมุนลูกข่าง เมื่อแรงหนีศูนย์กลางหมดลูกข่างจะหยุดหมุนลงและการที่เราเห็นลูกข่างเปลี่ยนเป็นสีม่วง  เกิดจากขณะที่ลูกข่างหมุนตาของเราจะเห็นสีทั้งรวมกันซึ่งเหมือนกับที่การที่เรานำสีไปผสมกันแล้วเกิดสีใหม่ โดยสีหมายถึงลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาเรา ให้เห็นเป็น สีขาว ดำ แดง ม่วงฯลฯหรือการสะท้อนรัศมีของแสงมาสู่ตาเรา

การประยุกต์ใช้  สามารถนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้กับชีวิตประจำวันได้หรือใช้ในการสอนในการประดิษฐ์สิ่งการสอน

การประเมิน
  • การประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา
  • การประเมินเพื่อน  มีความตั้งบใจอย่างมาก
  • การประเมินผู้สอน  ผู้สอนติดราชการแต่มีการเตรียมงานเตรียมใบความรู้สำหรับนักศึกษาทำในคาบ